นิทานไขตำนานปริศนา

  • เขียนและวาดภาพด้วยหมึกดำ โดย รัดยาร์ด คิปลิง
  • วาดภาพสี โดย โจเซฟ ไมเคิล กลีสัน
  • แปล โดย เจริญเกียรติ ธนสุขถาวร และ พิมพ์ชนก เครือสุคนธ์
  • ขนาดรูปเล่ม: ๑๔.๕ x ๒๑ ซม.
  • เนื้อในพิมพ์ ๔ สี บนกระดาษอาร์ตด้าน ๑๒๐ แกรม จำนวน ๕๒ หน้า
  • พิมพ์ ๒ สี บนกระดาษถนอมสายตา ๗๕ แกรม จำนวน ๔ หน้า
  • พิมพ์ ๑ สี บนกระดาษถนอมสายตา ๗๕ แกรม จำนวน ๒๐๐ หน้า
  • เข้าเล่มโดยการเย็บกี่
    ปกอ่อนมีปีก พิมพ์ด้านหน้า ๔ สี ปั๊มนูนและปั๊มเคเงิน บนกระดาษกรีนการ์ด ๒๕๐ แกรม เคลือบปกด้วยวอเตอร์เบส

เรื่องย่อ

นิทานไขตำนานปริศนาเป็นรวมนิทาน ๑๒ เรื่อง ที่เขียนโดยรัดยาร์ด คิปลิง นักเขียนรางวัลโนเบลคนที่ ๗ ของโลก คนแรกที่เขียนงานด้วยภาษาอังกฤษ และขณะอายุ ๔๑ ปี อายุที่น้อยที่สุดในบรรดาผู้รับรางวัลนี้ที่เคยมีมาจนถึงปัจจุบัน นิทานทั้ง ๑๒ เรื่องนี้ได้แก่
ทำไมวาฬจึงไม่กินคน
ทำไมอูฐจึงมีหนอก
ทำไมแรดจึงมีหนังย่น
ทำไมเสือดาวจึงมีลายจุด
ทำไมช้างจึงมีงวงยาว
ตำนานพ่อเฒ่าจิงโจ้
กำเนิดสัตว์หุ้มเกราะ
จดหมายฉบับแรกเขียนอย่างไร
ต้นกำเนิดพยัญชนะ
ปูผู้เล่นอยู่กับทะเล
แมวผู้ก้าวเดินไปตามใจตน
ผีเสื้อกระทืบเท้า

เส้นทางสู่เมืองมรกต มีทั้งเหวลึก ที่ลึกและชันจนไม่มีใครปีนลงไปได้ มีทั้งสัตว์ดุร้ายมีรูปลักษณ์ครึ่งเสือครึ่งหมีเรียกว่า กาไลดาห์ ที่สามารถข่มขวัญสัตว์ร้ายทุกชนิด และมีแม่น้ำกว้างใหญ่ไหลเชี่ยวที่กั้นขวางฟากหนึ่ง ไว้จากอีกฟากหนึ่ง ให้เหมือนอยู่กันคนละโลก รวมถึงทุ่งป็อปปีที่แผ่ไกลสุดลูกหูลูกตา ซึ่งหากใครเดินพลัดเข้าไปในนั้น ก็ต้องสูดดมกลิ่นอันตราย ซึ่งจะทำให้ผล็อยหลับลงในไม่ช้า 

เห็นได้ว่านิทานส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์จากทวีปต่างๆทั่วโลก ตอบคำถามเรื่องรูปร่างหน้าตาวิถีชีวิต กระทั่งนิสัยใจคอของพวกมัน แต่ก็มีสองเรื่องที่กล่าวถึงวิวัฒนาการทางภาษาของมนุษย์
คำตอบเป็นคำตอบอย่างนิทาน เป็นตำนานสนุกที่รังสรรค์จากจินตนาการของผู้เขียน อูฐมีหนอกเพราะมันขี้เกียจ ช้างมีงวงยาวเพราะมันขี้สงสัย และเพราะไปสงสัยว่าจระเข้กินอะไรเป็นอาหารเย็น เลยถูกจระเข้งับจมูก มันรอดจากกลายเป็นอาหารเย็นของจระเข้เพราะมีผู้ใหญ่ใจดีอย่างงูเหลือมสามสีมาช่วยยื้อยุดจากจระเข้ แต่จมูกช้างก็ถูกดึงจนยืดกลายเป็นงวงยาว